ไปเที่ยวไหนกัน....สถานที่ท่องเที่ยวในวันหยุด
ที่เที่ยวแนะนำวันหยุด.....มหาสารคาม
10ที่เที่ยวมหาสารคามที่ไม่ควรพลาด!!!!!!!
รวบรวมสถานที่ท่องเที่ยวมหาสารคาม สะดือแห่งอีสานที่น่าสนใจ มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สวยงามมากมาย บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อนอย่างแท้จริง
การไปเที่ยวภาคอีสาน หลายคนอาจจะมองข้ามจังหวัดมหาสารคามกันไป ซึ่งแท้จริงแล้วจังหวัดนี้ก็น่าเที่ยวไม่ใช่เล่น เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมให้ไปเที่ยวกันมากมาย ที่สำคัญยังเงียบสงบ ไม่วุ่นวายเหมือนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน วันนี้เราจึงได้รวบรวมที่เที่ยวมหาสารคาม ห้ามพลาดมาฝากกัน จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา
พระพุทธมิ่งเมือง วัดสุวรรณาวาส เป็นพระพุทธรุปทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียะวัตถุที่ควรค่าแก่การเคารพสักการบูชายิ่ง แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อพระยืน” เป็นพระพุทธรูปที่พึ่งทางใจของชาวพุทธ เป็นที่เคารพบูชาของชาวมหาสารคามและพุทธศาสนิกชนทั่วไป
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นปางสรงน้ำ มีความสูงตลอดองค์ 4 เมตร กว้าง 1 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยก่อนยุคสุโขทัย พระพักตร์หันไปทางทิศใต้ เป็นพระพุทธรูปที่ท้าวลินทอง เจ้าครองเมืองคันธวิชัยในสมัยจุลศักราช 147(1328) สร้างขึ้นเพื่อทดแทนคุณมารดา(นางบัวคำ) ถือเป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่ คู้บ้านคู่เมืองตามประวัติที่หาได้จากใบเสมาที่ผังอยู่ใกล้พระยืน ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติในปี 2478
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นปางสรงน้ำ มีความสูงตลอดองค์ 4 เมตร กว้าง 1 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยก่อนยุคสุโขทัย พระพักตร์หันไปทางทิศใต้ เป็นพระพุทธรูปที่ท้าวลินทอง เจ้าครองเมืองคันธวิชัยในสมัยจุลศักราช 147(1328) สร้างขึ้นเพื่อทดแทนคุณมารดา(นางบัวคำ) ถือเป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่ คู้บ้านคู่เมืองตามประวัติที่หาได้จากใบเสมาที่ผังอยู่ใกล้พระยืน ได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติในปี 2478
ที่ตั้ง วัดสุวรรณาวาส ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชาวมหาสารคามอีกองค์หนึ่ง ตั้งอยู่ที่วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย มีลักษณะตามแบบศิลปะทวารวดีเช่นเดียวกับพระพุทธรูปมิ่งเมือง สร้างด้วยหินทรายแดงเช่นเดียวกัน สูงประมาณ 4 เมตร พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือเมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมากพระพุทธรูปยืนมงคล ชาวบ้านนิยมมากราบไหว้ขอพรกันอย่างไม่ขาดสาย
พระพุทธรูปยืนมงคลตั้งอยู่ที่ วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคามห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๔ กิโลเมตร
หาดวังโก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเดื่อ ตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย มีลักษณะเป็นชายหาดยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ริมลำน้ำชี ซึ่งเกิดจากตะกอนทรายทับถมตามธรรมชาติบริเวณโค้งน้ำของแม่น้ำชี จนทำให้มีทรายมากมายมากองอยู่บริเวณนี้ กลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวมหาสารคาม สามารถลงเล่นน้ำได้ในช่วงน้ำลด มีบานาน่าโบ๊ท เจ็ตสกีให้บริการ รวมทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และเก้าอี้ผ้าใบ
เปิดบริการ 08.00 น. – 18.00 น. ทุกวัน เป็นทะเลน้ำจืดที่มีเครื่องเล่นต่าง ๆ มากมาย เช่น บานาน่าโบ้ท โดนัสสกี ยังมีเปลและร่มไว้สำหรับนอนพักตากอากาศ อาบแดด มีร้านอาหารต่าง ๆ หลายร้านด้วยกัน
การเดินทางโดยรถยนต์ : ไปตามเส้นทางมหาสารคาม-โกสุมพิสัย–ขอนแก่น หาดวังโก จะอยู่ขวามือถ้าเรามุ่งหน้าไปขอนแก่นออกจากโกสุมมาได้ไม่ไกลนัก
ภาพภูมิทัศน์ของหาดวังโก : ภูมิทัศน์ บริเวณถนนรอบๆ หาดวังโก ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง ของ จังหวัดมหาสารคาม
ทุ่งปอเทือง ตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาริมถนนหมายเลข 12 หลักกิโลเมตรที่ 588+100 ในเขตตำบลโพนทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม กลายเป็นจุดสนใจของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา เนื่องจากจังหวัดมหาสารคาม ได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรในพื้นที่ลดการเผาตอซัง แล้วหันมาปลูกพืชบำรุงดิน ดังนั้น อำเภอเชียงยืน จึงได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงยืน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำปอเทืองมาปลูกเพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสด จนกระทั่งปอเทืองที่ปลูกไว้ออกดอกสีเหลืองอร่ามสวยงามเต็มทุ่งนา สร้างจุดสนใจให้ผู้คนผ่านไปมาได้จอดรถข้างทาง เพื่อแวะถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วยความประทับใจ
สะพานไม้แกดำ อีกหนึ่งสะพานไม้เก่าแก่ในบรรยากาศแบบท้องทุ่ง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดมหาสารคามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และเที่ยวชม เพื่อสัมผัสของกลิ่นไอแห่งความเป็นชาวบ้านกับสะพานที่ทอดตัวยาวท่ามกลางหนองน้ำแกดำไกลสุดตากว่า 1 กิโลเมตร ท่ามกลางบึงบัวและพืชน้ำสีเขียวและความหลากทางธรรมชาติ ถือว่าเป็นสะพานสุด unseen อีกแห่งหนึ่ง ที่ควรค่าแห่งการเดินทางมาเช็คอิน
สะพานไม้ที่ทอดยาวไปยังอ่างเก็บน้ำหนองแกดำซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของอำเภอแกดำ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแกดำ บ้านหัวขัว บ้านโพธิ์ศรี เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชาวอำเภอแกดำ เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสัตว์น้ำ พื้ชน้ำ เช่น บัวแดง แหน สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น นอกจากนี้ในหน้าหนาวยังสามารถพบเห็นนกเป็ดน้ำบินหนีหนาวมาจากไซบีเรีย มาอาศัยในบริเวณหนองแกดำด้วย
สะดืออีสาน หรือบึงกุย ตั้งอยู่ที่หมู่ 13 ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย มีความเชื่อกันว่าที่นี่เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสาน จึงเรียกกันว่าสะดืออีสาน มีลักษณะเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,750 ไร่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำมากมาย เป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชาวมหาสารคาม อีกทั้งโดยรอบบึงยังมีทัศนียภาพที่สวยงาม บรรยากาศเงียบสงบ น่ามาเที่ยวพักผ่อน มีอาคารรูปทรงสวยงามตั้งเป็นสัญลักษณ์โดดเด่น ภายในพื้นที่มีอาณาเขตที่กว้างขวาง มีการจัดตกแต่งเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่น สามารถมองเห็นวิวสวยของ “บึงกุย” บึงน้ำขนาดใหญ่ได้อย่างสวยงาม ซึ่งเหมาะแก่การเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ และเก็บภาพประทับใจไว้เป็นที่ระลึก
ทั้งนี้ สะดืออีสานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนเป็นจุดพิกัดกึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักนิยมเดินทางมาเก็บภาพประทับใจ เพื่อเป็นการบันทึกความทรงจำว่าครั้งหนึ่งได้เคยมายืนอยู่ ณ ศูนย์กลางของภาคอีสานแล้ว
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำดูนลำพัน ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 343 ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยพืชพรรณและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด บริเวณหนองดูนจะเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีตาน้ำผุดขึ้นมาตามธรรมชาติตลอด ดินจึงมีความชื้นสูง ซึ่งสามารถทำให้สามารถพบเห็นปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้ง ปูน้ำจืดสีสันสดใสในบริเวณนี้อีกด้วย
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำดูนลำพัน มีลักษณะเป็นป่าธรรมชาติ มีน้ำไหลเฉพาะที่ตลอดเวลา หรือที่เรียกว่าป่าน้ำซับ นอกจากนั้นยังมีพืชและสัตว์ที่ไม่ค่อยพบในที่อื่น ๆ เช่น ต้นลำพันหรือธูปฤาษี เห็ดลาบ ปลาคอกั้ง งูเขาและปูทูลกระหม่อม (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานชื่อ) หรือปูแป้งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่น ม่วง ส้ม เหลืองและขาว ซึ่งจะพบเฉพาะที่ป่าดูนลำพันแห่งนี้เท่านั้น นอกจากนี้ป่าดูนลำพันยังเป็นแหล่งดูนกและศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศ
แก่งเลิงจาน แหล่งท่องเที่ยวห้ามพลาดอีกหนึ่งแห่งของมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม
แก่งเลิงจานหรืออ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน (Kaeng Leng Chan) ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของตัวเมือง ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี มีลักษณะเป็นบึงน้ำกว้าง ภายในมีสวนสุขภาพแก่งเลิงจานที่กว้าง โล่ง ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนและการออกกำลังกาย พิพิธภัณฑ์ ศาลากลางน้ำ และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านไปมาและนักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมและทัศนศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน หากท่านมีเวลาก็น่าไปพักผ่อนหย่อนใจและศึกษาธรรมชาติแถบนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามพระอาทิตย์กำลังจะตกดินจะมีทัศนียภาพที่สวยงามมาก
วนอุทยานโกสัมพี ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวขวาง ในเขตสุขาภิบาล อำเภอโกสุมพิสัย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 125 ไร่ ลักษณะเป็นป่าดงดิบตามธรรมชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยพืชพรรณต่าง ๆ พร้อมทั้งสัตว์ป่าหลากหลายชนิด โดยเฉพาะลิงวอกที่มีอยู่มากมาย และยังมีศาลเจ้าปู่ให้มากราบไหว้ขอพรกันอีกด้วย ที่นี่มีพื้นที่กางเต็นท์ให้ ใครอยากมากางเต็นท์นอนชมดาวก็ทำได้เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ททท., mahasarakham.go.th, radio.prd.go.th, info.dla.go.th, i-san.tourismthailand.org, dnp.go.th, sarakhamrid.com, วัดหนองหูลิง
ททท., mahasarakham.go.th, radio.prd.go.th, info.dla.go.th, i-san.tourismthailand.org, dnp.go.th, sarakhamrid.com, วัดหนองหูลิง
Comments
Post a Comment